วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562

อะตอมและสมบัติของธาตุ

อะตอมและสมบัติของธาตุ

1. แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
สสารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดเรียกว่า อะตอม ซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปได้อีก
2. แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
- ค้นพบอิเล็กตรอน ที่ มีประจุไฟฟ้าลบ มีมวลประมาณ1/2000 ของมวลของ H
- โดยศึกษาพฤติกรรมของ หลอดรังสีแคโทด ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
3. แบบจำลองของรัทเทอร์ฟอร์ด
การกระเจิง (scattering) ของอนุภาค a โดยแผ่นทองคำบางๆ
รัทเทอร์ฟอร์ดพบว่ารังสีส่วนใหญ่ไม่เบี่ยงเบน และส่วนน้อยที่เบี่ยงเบนนั้น ทำมุมเบี่ยงเบนใหญ่มาก บางส่วนยังเบี่ยงเบนกลับทิศทางเดิมด้วย จำนวนรังสีที่เบี่ยงเบนจะมากขึ้นถ้าความหนาแน่นของแผ่นโลหะเพิ่มขึ้น
อนุภาคมูลฐาน
อนุภาค
ประจุ(หน่วย)
ประจุ(C)
มวล(g)
มวล(amu)
อิเล็กตรอน
-1
1.6 x 10-19
0.000549
9.1096 x 10-28
โปรตรอน
+1
1.6 x 10-19
1.007277
1.6726 x 10-24
นิวตรอน
0
0
1.008665
1.6749 x 10-24
การเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์
AZX : เลขมวล คือผลบวกของโปรตอน และนิวตรอนในนิวเคลียส
เลขอะตอม คือ จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส ซึ่ง =จำนวนอิเล็กตรอนในอะตอม
ตัวอย่าง การเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์
ดังนั้น อะตอมของธาตุLithium ( Li )
มีจำนวนโปรตอน = 3 ตัว
อิเล็กตรอน = 3 ตัว
และนิวตรอน = 4 ตัว
คำศัพท์ที่ควรทราบ
1. ไอโซโทป ( Isotope )
หมายถึง อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน มีเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีเลขมวลต่างกัน
2. ไอโซบาร์ ( Isobar )
หมายถึง อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน แต่มีเลขอะตอมไม่เท่ากัน
3. ไอโซโทน ( Isotone )
หมายถึง อะตอมของธาตุต่างชนิดกันแต่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน



4. แบบจำลองอะตอมของนีลส์โบร์
นักวิทยาศาสตร์จึงมีการศึกษาข้อมูลใหม่มาสร้างแบบจำลองที่เน้นรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดเรียงอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียส โดยศึกษาจากสเปกตรัมและค่าพลังงานไอออไนเซชัน
เปกตรัม
สเปกตรัมเป็นแสงที่ถูกแยกกระจายออกเป็นแถบสีต่าง ๆ และแสงเป็นรูปหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
แถบสีต่างๆในแถบสเปคตรัมของแสง
สเปกตรัม
ความยาวคลื่น (nm)
ม่วง
น้ำเงิน
เขียว
เหลือง
ส้ม
แดง
400 - 420
420 - 490
490 - 580
580 - 590
590 - 650
650 - 700
สเปกตรัมของธาตุ
แมกซ์ พลังค์ได้เสนอทฤษฎีควอนตัม (quantum theory) และอธิบายเกี่ยวกับการเปล่งรังสีว่า รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปล่งออกมามีลักษณะเป็นกลุ่มๆ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยเล็กๆ เรียกว่า ควอนตัม (quantum) ขนาดของควอนตัมขึ้นกับความถี่ของรังสี และแต่ละควอนตัมมีพลังงาน (E) โดยที่ E เป็นปฏิภาคโดยตรงกับความถี่ (u) ดังนี้
E=hν
E = พลังงาน 1 ควอนตัมแสง(J)
h = ค่าคงที่ของพลังค์ (6.62x10-34 Js)
ν= ค่าความถี่ ( s-1)
5.แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก
แบบจำลองอะตอมของโบร์ ใช้อธิบายเกี่ยวกับเส้นสเปกตรัมของธาตุไฮโดรเจนได้ดีแต่ ไม่สามารถอธิบายเส้นสเปกตรัมของอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอนได้จึงได้มีการศึกษาเพิ่มเติมจนได้แบบจำลองใหม่ที่เรียกว่าแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก
หลักในการจัดเรียงอิเล็กตรอน
   1. จำนวน eที่มีได้มากสุดในแต่ละระดับพลังงาน 2n2

           n = 1  สามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้   2(1)2 = 2 
  
           n = 2  สามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้   2(2)2 = 8 
  
           n = 3  สามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้   2(3)= 18
    
           n = 4  สามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้   2(4)2 = 32
    
           n = 5 สามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้    2(5)= 50


       2. จำนวน eชั้นนอกสุด (เวเลนซ์อิเล็กตรอน) ห้ามเกิน 8

ตารางแสดงระดับพลังงานและจำนวนอิเล็กตรอนที่มีได้เต็มที่ในแต่ละระดับพลังงาน



           ตัวอย่างการจัดเรียงอิเล็กตรอน 
                            
         ตัวอย่างการจัดเรียงอิเล็กตรอน


หมู่ 1A คาบ 2
เวเลนซ์อิเล็กตรอน 1
ระดับพลังงาน 2

         ตัวอย่างการจัดเรียงอิเล็กตรอน 



หมู่ 6A คาบ 3

เวเลนซ์อิเล็กตรอน 6
ระดับพลังงาน 3


     เวเลนซ์อิเล็กตรอนกับสมบัติของธาตุ

       1. ธาตุที่อยู่ในหมู่เดียวกันมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน จึงทำให้มีสมบัติคล้ายคลึงกัน

       2. ธาตุในหมู่ย่อย มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับเลขที่ของหมู่

       3. ธาตุในคาบเดียวกันมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนไม่เท่ากัน โดยมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา
ดังนั้นธาตุในคาบเดียวกันจึงมีสมบัติต่างกัน

       4.ธาตุในคาบเดียวกันมีจำนวนระดับพลังงานเท่ากันและเท่ากับเลขที่ของคาบ



ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก

1. โยฮันน์ เดอเบอไรเนอร์ (Johann DÖbereiner,1817)

 จัดธาตุเป็นกลุ่มๆ ละ 3 ธาตุ ตามสมบัติที่คล้าย คลึงกัน เรียกว่า Triads  โดยธาตุตัวกลางจะมีมวลอะตอมเท่ากับหรือใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของอีกสองธาตุ 
2.  จอห์น นิวแลนด์ (John Newlands)
ถ้านำธาตุมาเรียงมาตามมวลอะตอมที่เพิ่มขึ้นเป็นแถว แถวละ 7 ธาตุ ธาตุที่ 8 จะมีสมบัติคล้ายกับธาตุที่ 1 โดยเริ่มจากธาตุใดก็ได้ 
* กฎนี้ใช้ได้กับธาตุที่มีมวลอะตอมไม่เกินมวลอะตอมของแคลเซียมเท่านั้น

3.  เมนเดเลเอฟ และไมเออร์ (Mendeleev,1869)
ถ้าเรียงธาตุตามลำดับมวลอะตอมจากน้อยไปหามาก  ธาตุที่มีคุณสมบัติคล้ายกันจะปรากฏอยู่ตรงกันเป็นช่วงๆ ตามการเปลี่ยนค่าของมวลอะตอม
เรียกว่า สมบัติของธาตุต่างๆ เป็นฟังก์ชันพิริออดิกของมวลอะตอมของธาตุเหล่านั้น
กฎพีริออดิก (Periodic Law)
  “สมบัติทางเคมีและสมบัติทางกายภาพของธาตุต่างๆ นั้นเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่เป็นช่วงๆโดย จะสัมพันธ์กับมวลอะตอมของมัน”

สรุปเกี่ยวกับตารางธาตุ แบ่งธาตุในแนวตั้ง (หมู่) แบ่งออกเป็น 18 แถว โดยธาตุทั้งหมด 18 แถว แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
– กลุ่ม A  มี  8  หมู่ คือ  IA  ถึง VIIIA
– กลุ่ม B  มี  8  หมู่ คือ  IB  ถึง VIIIB  เรียกว่า ธาตุแทรนซิชัน (Transition)
โดย
  • ธาตุหมู่ที่ IA  เรียกว่า “โลหะแอลคาไลน์”  ได้แก่   Li   Na   K   Rb  Cs  และ  Fr
  • ธาตุหมู่ที่ IIA  เรียกว่า  “ โลหะอัลคาไลน์ เอิร์ท”  ได้แก่  Be  Mg  Ca  Sr  Ba และ  Ra
  • ธาตุหมู่ที่  VIIA  เรียกว่า “ธาตุเฮโลเจน (Halogen)” ได้แก่   F , Cl , Br , I  และ  At
  • ธาตุหมู่ที่ VIIIA  เรียกว่า “ก๊าซเฉื่อย (Inert gas or Noble gas)” ได้แก่   He , Ne , Ar , Kr , Xe  และ  Rn
ตารางธาตุในแนวนอนเรียกว่า “คาบ”  แบ่งได้  7  คาบ
  • คาบที่ 6 แบ่งธาตุเป็น 2 กลุ่ม
– กลุ่มแรกมี 18 ธาตุ คือ Cs ถึง Rn
– กลุ่มที่สองมี 14 ธาตุ คือ Ce ถึง Lu เรียกกลุ่มนี้ว่าLantanides
  • คาบที่ 7 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
– กลุ่มแรกเริ่มจาก Fr เป็นต้นไปและมีการค้นพบเกิดขึ้นตลอดเวลา
– กลุ่มสองมี 14 ธาตุคือ Th ถึง Lr เรียงกลุ่มนี้ว่า Actinides
“หมู่เดียวกัน จะมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน ซึ่งเท่ากับ เลขประจำหมู่”
“คาบเดียวกัน จะมีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน ซึ่งเท่ากับ เลขที่คาบ”
กลุ่ม s, p, d และ f-block สามารถจัดกลุ่มได้ดังรูป


ธาตุในกลุ่ม s, p, d, และ f-block
ธาตุในกลุ่ม s, p, d, และ f-block

การตั้งชื่อธาตุที่ค้นพบใหม่ ตั้งตามระบบ IUPAC (InternationalUnion of Pure and  Applied  Chemistry)
  • ใช้กับธาตุที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 100 ขึ้นไป
  • ให้ตั้งชื่อธาตุโดยระบุเลขอะตอมเป็น ภาษาละติน แล้วลงท้ายด้วย– ium
ระบบการนับเลขในภาษาละติน
0  นิล (nil)
1  อูน (un
2  ไบ (bi)
3  ไตร  (tri) 4  ควอด (quad) 5  เพนท์ (pent) 6  เฮกซ์  (hex) 7  เซปท์  (sept) 8  ออกต์(oct) 9  เอนน์ (enn) ตัวอย่างการเรียกชื่อ
  • ธาตุที่  104  ตามระบบ IUPAC อ่านว่า
Unn+nil+quad+ium  =   Unnilquadium
  • ธาตุที่  105  อ่านว่า
Unn+nil+pent+ium  =   Unnilpentium
ส่วนที่ 2 สมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบ
1. ขนาดอะตอม
การบอกขนาดอะตอมจะบอกโดยใช้รัศมีอะตอม ซึ่งมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองที่มีแรงยึดเหนี่ยวอะตอมไว้ด้วยกันหรือที่อยู่ชิดกัน รัศมีอะตอมมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของแรงที่ยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม
– รัศมีโคเวเลนต์ คือ ระยะทางครึ่งหนึ่งของความยาวพันธะโคเวเลนต์ระหว่างอะตอมชนิดเดียวกัน
ตัวอย่างรัศมีโคเวเลนต์
– รัศมีแวนเดอร์วาลล์ คือระยะทางครึ่งหนึ่งของระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมที่อยู่ใกล้ที่สุด
ตัวอย่างรัศมีแวนเดอร์วาลล์
– รัศมีโลหะ คือ ระยะทางครึ่งหนึ่งของระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมโลหะที่อยู่ใกล้กันมากที่สุด


ตัวอย่างรัศมีโลหะ


แนวโน้มขนาดอะตอมในตารางธาตุ


แนวโน้มขนาดอะตอมในตารางธาตุ
แนวโน้มขนาดอะตอมในตารางธาตุ

2. รัศมีไอออน
ไอออน  คือ อะตอมของธาตุ  หรือกลุ่มอะตอมของธาตุที่มีประจุ  คือ ไอออนทุกชนิดจะต้องมีจำนวนโปรตอนไม่เท่ากับอิเล็กตรอนถ้าจำนวนโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอนเป็นไอออนบวก  และถ้ามีจำนวนโปรตอนน้อยกว่าอิเล็กตรอนเป็นไอออนลบ
การบอกขนาดไอออนทำได้เช่นเดียวกับการบอกขนาดอะตอม ซึ่งพิจารณาจากระยะห่างระหว่างนิวเคลียสของไอออนคู่หนึ่งๆ ที่มีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกันในโครงผลึก
ตัวอย่างรัศมีไอออน
แนวโน้มของขนาดไอออนในตารางธาตุ


แนวโน้มขนาดไอออน
แนวโน้มขนาดไอออน
3. พลังงานไออนไนเซชัน (Ionization Energy; IE)
คือ พลังงานจำนวนน้อยที่สุดที่ใช้ดึงอิเล็กตรอนออกจากอะตอมของธาตุที่เป็นแก๊สครั้งละ 1 อิเล็กตรอนทำให้กลายเป็นไอออนบวกที่เป็นแก๊ส
สามารถเขียนสมการได้ดังนี้
X(g)  +  IE  —->  X+  (g)  +  e
ตัวอย่าง ค่า IEถึง IEของ Li
Li(g)  Li+(g) + e               IE1 = 520 kJ/mol
Li+(g)  Li2+(g) + e            IE2 = 7,394 kJ/mol
Li2+(g)  Li3+(g) + e           IE3 = 11,815 kJ/mol
ตัวอย่างกราฟไอออนไนเซชัน
แนวโน้มค่า IE 

แนวโน้มค่า IE ในตารางธาต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น